UFABETWINS โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส, เซร์คิโอ รามอส, เฆซุส นาบาส หรือ ดานี อัลเวส คือนักเตะที่ เซบียา ใช้เงินลงทุนไปไม่ถึง 1 ล้านปอนด์ แต่กลับทำกำไรจากการขายได้ถึง 80 ล้านปอนด์

สิ่งนี้เกิดขึ้นภายใต้การบริหารของ มอนชี ผู้อำนวยการกีฬา ที่ไร้ตัวตนสมัยเป็นนักเตะ แต่กลับกลายเป็นผู้ฟื้นคืนชีพเซบียา ที่เคยร่อแร่จากปัญหาหนี้สิน มาเป็นทีมที่มีทั้งเงินและถ้วยแชมป์ นักเตะผู้ไร้ตัวตน ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน หากเอ่ยชื่อของ มอนชี หลายคนอาจจะเกาหัวด้วยความสงสัยว่าเขาคือใคร เพราะนักเตะที่เป็นที่รู้จักในตอนนั้นว่า รามอน โรดริเกซ เบอร์เดโญ ไม่ได้เป็นผู้เล่นที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เขาคือผู้รักษาประตูสำรองของ เซบียา

ที่อยู่กับทีมมาตั้งแต่สมัยเยาวชน และขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่ของทีมดังแห่งแคว้นอันดาลูเซีย ในปี 1990 ในสมัยที่ทีมมีสถานะเป็นทีมกลางตารางของลาลีกา ทว่าด้วยบทบาทการเป็นผู้รักษาประตูสำรอง ทำให้ มอนชี ไม่ค่อยได้รับโอกาสลงสนาม โดยมีเพียงฤดูกาล 1996-97 ที่ได้ลงสนามต่อเนื่อง ด้วยการลงเล่นไปถึง 26 เกมในลาลีกา แต่ที่เหลือหากไม่ใช่ฟุตบอลถ้วย บทบาทของเขามีเพียงนั่งตบยุงอยู่ข้างสนามเท่านั้น แต่เขาก็พอใจกับบทบาทนี้ เขารู้สึกรักเมืองนี้

และมีความสุขกับเซบียา ทำให้เขาไม่ได้ย้ายไปเล่นให้กับสโมสรไหนเลย ตลอดเกือบ 10 ปีในถิ่น รามอน ซานเชซ ปิซฆวน มอนชีบอกว่าหนึ่งในช่วงเวลากับ เซบียา ที่เขาชอบมันมากที่สุด คือ การได้เป็นรูมเมตกับ ดิเอโก มาราโดนา ดาวเตะชื่อก้องโลกชาวอาร์เจนตินาที่ย้ายมาจากนาโปลี สิ่งนี้ กลายเป็นความทรงจำที่เขาไม่เคยลืม “ช่วงเวลาของผมในฐานะนักเตะเซบียามันดีนะ ผมจำได้ว่าสนุกมาก” มอนชี กล่าวกับ Goal “มันเป็นช่วงเวลาที่ดีมากจริง ๆ

UFABETWINS

และโชคดีที่มีเพื่อนร่วมทีมเป็นดาวดังอย่าง ดาเวอร์ ซูเคอร์, โทนี พอลสเตอร์, (อิวาน) ซาโมราโน, (ดิเอโก) ซิเมโอเน และเหนือสิ่งอื่นใดคือ ดิเอโก อาร์มันโด มาราโดนา” “มันไม่ใช่แค่ฤดูกาล 92-93 ผมโชคดีที่ได้แชร์ห้องกับเขา สำหรับผม เขาคือนักเตะที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์” “มันวิเศษมาก เป็นช่วงเวลาแห่งความตื่นเต้น และผมก็ได้เติมเต็มความฝันของเด็กที่เคยเล่นบอลข้างถนน” อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาในฐานะนักเตะอาชีพของ มอนชี นั้นสั้นเหลือเกิน เมื่ออาการบาดเจ็บ

ที่หัวไหล่ ทำให้ผู้รักษาประตูผู้จงรักภักดีคนนี้ ต้องแขวนสตั๊ดในปี 1999 ด้วยวัยเพียงแค่ 30 ปีเท่านั้น ทั้งที่ได้ลงเล่นไปถึง 20 นัดในฤดูกาลสุดท้าย และช่วยให้ เซบียา เลื่อนชั้นกลับมาเล่นในลาลีกา ทว่ามันไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ความยิ่งใหญ่ ทั้งตัวเขาเอง และเซบียา ผู้อำนวยการกีฬามือใหม่ มอนชี ห่างจาก เซบียา สโมสรที่เขารักไปได้ไม่นาน หลังจากแขวนสตั๊ดเพียงปีเดียว เขาได้หวนคืนสโมสรอีกครั้ง ในฐานะผู้อำนวยการกีฬาของทีมในปี 2000

ด้วยวัยเพียง 32 ปี อย่างไรก็ดี การกลับมาครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างหนักของ มอนชี เมื่อในตอนนั้น เซบียา เต็มไปด้วยปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาการเงิน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการดาวดังมาร่วมทีมในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990s แต่ทีมไม่ประสบความสำเร็จใดเลย จนมีภาวะหนี้สินสะสมมหาศาล ในขณะที่ผลสนามก็ย่ำแย่ไม่แพ้กัน เมื่อปัญหาหนี้สินทำให้พวกเขาต้องขายตัวเก่งออกจากทีม บวกกับการที่นักเตะตัวหลักหลายคนแขวนสตั๊ด ทำให้พวกเขาต้องร่วงตก

ชั้นเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 5 ปีในฤดูกาล 1999-2000 มอนชี รู้ดีถึงความยากของภารกิจในครั้งนี้ แม้ว่าเขาจะไม่มีประสบการณ์มาก่อน แต่เขาก็พยายามศึกษาจากทีมที่เคยประสบความสำเร็จ หนึ่งในนั้นคือ ปอร์โต และ ลียง สองทีมแกร่งจากโปรตุเกส และ ฝรั่งเศส เขาเริ่มต้นด้วยการพัฒนาระบบเยาวชน เนื่องจากในตอนนั้น เซบียา ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก พวกเขาแทบไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอยในตลาดนักเตะ ทำให้การใช้นักเตะจากอคาเดมีดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

การได้รับโอกาสลงสนามตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้แข้งเยาวชนของพวกเขาสามารถพัฒนาฝีเท้าได้อย่างต่อเนื่อง และมันก็ทำให้เซบียา สร้างแข้งดาวรุ่งฝีเท้าดีขึ้นมาประดับวงการได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คาร์ลอส มาร์เชนา, โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส, ดิเอโก การ์เปล, เฆซุส นาบาส รวมไปถึงกองหลังที่เก่งที่สุดของสเปนในรอบหลายสิบปีอย่าง เซร์คิโอ รามอส ภายใต้การบริหารงานของ มอนชี เขาทำให้ เซบียา มีทีมอคาเดมีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดทีมหนึ่งของสเปน

UFABETWINS

ด้วยนักเตะกว่า 400 คนจากทีมเยาวชน 22 รุ่น และกลายเป็นอคาเดมี ที่สามารถสู้รบปรบมือได้อย่างสมน้ำสมเนื้อกับ เรอัล มาดริด และบาร์เซโลนา นอกจากนี้ มอนชี ยังให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายแมวมอง ในสองปีแรกกับ เซบียา เขาไม่ได้ใช้เงินซื้อนักเตะแม้แต่ยูโรเดียว แต่ทุ่มงบประมาณไปกับการจ้างแมวมอง จนทีมมีแมวมองอยู่ 700 คนทั่วโลกในปัจจุบัน “ในส่วนของแมวมอง ผมหมกมุ่นในเรื่องนี้มาตลอด ผมคิดเสมอ ยิ่งเราได้ดูผู้เล่นหลายครั้ง มันจะทำให้ตัดสินใจ

ได้ง่ายขึ้น” มอนชีกล่าวกับ wyscout “เราจึงทำงานและตระหนักกับสิ่งที่ผมเรียกว่าทฤษฎี ‘วงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง’ (concentric circles theory) นั่นคือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง นั้นมาจากวงเล็ก ๆ แล้วค่อยใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยพื้นฐานแล้ว เราสร้างกรอบที่ทำให้เราเป็นต่อในขอบข่ายที่เรากำหนดได้” “ถ้าเรามี 3 คน ทำอย่างไรถึงจะครอบคลุมทั้งโลก ในเมื่อมันเป็นไปไม่ได้” “เราพยายามแข็งแกร่งในส่วนนี้ ยกตัวอย่างเช่น เราเริ่มต้นจากใน สเปน โปรตุเกส

และฝรั่งเศส เมื่อเรามี 5 คน เราก็เพิ่มอิตาลี อังกฤษ และเบลเยียมเข้าไป เราทำแบบนั้น และเติบโตอย่างที่เราเป็นในทุกวันนี้” ด้วยระบบดังกล่าวทำให้ เซบียา ได้นักเตะฝีเท้าดีราคาถูกมาร่วมทีมอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่า อาเดรียโน, ชูลิโอ บาปติสตา, หลุยส์ ฟาเบียโน, เซย์ดู เกย์ตา, อิวาน ราคิติช หรือ แบ็คขวาที่ดีที่สุดในโลกในยุคของเขาอย่าง ดานี อัลเวส “เรามีอิทธิพลใน 30-35 ลีกใหญ่ในแนวทางที่ละเอียดถี่ถ้วน เราพยายายามที่จะครอบคลุม

และรู้ในสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่ดี องค์ความรู้คือพื้นฐานสำหรับงานแมวมอง” มอนชีกล่าวต่อ ในขณะเดียวกัน พวกเขายังฟันกำไรอย่างมหาศาลจากการขายนักเตะเหล่านี้ รวมไปถึงแข้งเยาวชนที่ปลุกปั้นขึ้นมา ที่คาดว่าน่าจะมากกว่า 170 ล้านยูโร จนทำให้ตัวเลขการเงินของ เซบียา เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว และกลายเป็นหนึ่งในทีม ที่มีความมั่นคงมากที่สุดทีมหนึ่งของยุโรป อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ รู้จักตัวเอง

แม้ว่า เซบียา จะเป็นทีมที่มีอัตราการเทิร์นโอเวอร์ของนักเตะสูง ที่ทำให้พวกเขาต้องเสียนักเตะระดับสตาร์ให้กับทีมยักษ์ใหญ่เกือบทุกปี แต่ผลงานในสนามกับตรงกันข้าม เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์มาประดับตู้โชว์สโมสรได้อย่างสม่ำเสมอ นับตั้งแต่ที่ มอนชี เข้ามาเป็นผู้อำนวยการกีฬา เซบียา กวาดแชมป์มาครองได้ถึง 10 ใบ โดยแบ่งเป็น ยูโรปา ลีก 6 สมัย ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์, โกปา เดล เรย์ อีก 2 สมัย และ ซูเปอร์ โคปา เด เอสปันญา และ ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ

อีก 1 สมัย ตลอดจนเข้าชิงฟุตบอลถ้วยไปถึง 19 ครั้งในรอบ 20 ปี และเคล็ดลับที่ทำให้ เซบียา รักษามาตรฐานตัวเอง แม้จะเสียดาวดังไปก็คือ การสามารถหานักเตะคุณภาพใกล้เคียง แต่ราคาย่อมเยากว่า มาทดแทนได้เสมอ ซึ่งเป็นผลมาจากการวางรากฐานเครือข่ายแมวมอง มอนชี รู้ดีว่า เซบียา อยู่ตรงไหนของห่วงโซ่อาหาร เขาพร้อมที่จะขายนักเตะตัวเก่งของทีมออกไป ถ้าได้ราคาดี และไม่รู้สึกเสียดาย เพราะมันคือการ “ขายเพื่อเติบโต” เพื่อนำกำไรมาลงทุนต่อไป

ซึ่งเป็นปรัชญาที่เขายึดถือมาตลอด “มันไม่ได้เป็นความชอกช้ำอีกแล้ว” มอนชี ยืนยันกับ The Guardian “อัลบาโร เนเกรโด ย้ายออกไป และคุณคิดว่ามันจุดจบ แต่ (คาร์ลอส) บัคคา ก็มาถึง หลังจากนั้นเขาไป และ (เกแว็ง) กาเมโร ก็มาพิสูจน์ตัวเองได้” แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้จักตลาด และอยู่กับความเป็นจริง เซบียา ไม่ใช่ทีมจอมทุ่ม หากนักเตะสนใจมีค่าตัวแพงเกินไปกว่าที่ควรจะเป็น พวกเขาจะยกธงขาว และมองหาตัวเลือกสำรองเสมอ ยกตัวอย่างเช่นในปี 2007

พวกเขากำลังสนใจ เควิน พรินซ์ บัวเต็ง ที่ทำผลงานได้ดีกับ แฮร์ธา เบอร์ลิน แต่ก็สู้ ท็อตแนม ฮ็อทสเปอร์ ที่ให้เงินมากกว่าไม่ไหว พวกเขาจึงเบนเข็มไปคว้าตัว เซย์ดู เกย์ตา ที่ตอนนั้นอยู่กับ ลองส์ ด้วยค่าตัว 4 ล้านยูโร ก่อนจะขายต่อให้ บาร์เซโลนา พร้อมกำไร 10 ล้านยูโร “คนขายรถมักจะอ้างรุ่นที่ดีกว่าเสมอ” มอนชีกล่าวต่อกับ The Guardian “อย่าง (เฟเดริก) คานูเต ก็ไม่ใช่เป้าหมายแรกของเรา เรากำลังสนใจ เฟร็ด ของบราซิล และเราก็อยากได้ (เควิน พรินซ์)

บัวเต็ง ก่อน (เซย์ดู) เกย์ตา” “ถ้านักเตะบอกว่า ‘เชลซีสนใจผม’ ผมจะบอกว่า ‘คุณบอกผมเพื่ออะไร แล้วไง’ แต่ถ้า สวอนซี หรือ สเปอร์ส สนใจคุณ เรามาคุยกัน” มันคือเป็นหลักการที่ทำให้ เซบียา ได้นักเตะคุณภาพมาร่วมทีมในราคาที่เหมาะสม และกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เขามีกำไรอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เคล็ดลับของเขาไม่ได้มีแค่นี้ จงเป็นมนุษย์ ปฏิเสธไม่ได้ว่า อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ เซบียา เป็นผู้ได้เปรียบในตลาดนักเตะ

คือการขายผู้เล่นออกไปในตอนที่พวกเขากำลังทำผลงานได้ดี ซึ่งเป็นตัวช่วยในการเพิ่มมูลค่านักเตะของพวกเขา หากสังเกตจะพบว่า นักเตะหลายคนของ เซบียา มักจะอำลาทีมไปในขณะที่ยังพีค แถมส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นหลังได้เข้าชิงชนะเลิศในรายการใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ดานี อัลเวส ในปี 2007,

อิวาน ราคิติช ในปี 2014 และ คาร์ลอส บัคคา ในปี 2015 มอนชี บอกว่า สิ่งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่เขามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับเฮดโค้ช ซึ่งทำให้เขาสามารถซื้อนักเตะที่โค้ชต้องการ และเมื่อซื้อมาตรงสเปค เข้ากับสไตล์ของทีม พวกเขาก็จะทำผลงานได้ดีในสนาม

 

คลิ๊กเลย >>> UFABETWINS

อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล